
ปลดล็อคศักยภาพองค์กรด้วยการลด Carbon Footprint : ทำไมต้อง ISO 14064 ?
ตามข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเกิดมาจากการประชุมเมื่อวันที่ 12 ธันวาปีพ.ศ. 2558
ซึ่งเป็นวาระเพิ่มเติมจากพิธีสารเกียวโตปี พ.ศ. 2540 ในข้อตกลงนี้ วัตถุประสงค์คือเพื่อกำหนดมาตรการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และได้ร่วมตกลงอย่างเป็นทางการและมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายนปี 2559 หลังจากมีภาคีร่วมมือกันมากกว่า 197 ประเทศซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย
สาระสำคัญคือมุ่งเน้นให้ประเทศที่เข้าร่วมนั้นตอบสนองต่อผู้คการเปลี่ยนแปลงสภาพพูมิอากาศโดยมีข้อจำกัดคือการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในศตวรรษ 10 ปีนี้คือให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม
ซึ่งสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศนั้นก็มาจากกิจกรรมต่างๆที่มีการปลดปล่อยให้ก๊าซเรือนกระจกซึ่งจะพูดถึง 7 ก๊าซ หลักดังนี้
- CO2
- CH4
- N2O
- HFCs
- PFCs
- SF6
- NF3
ผลกระทบต่อภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันนั้นยกตัวอย่างได้อาทิ ภัยพิบัติที่มีแนวโน้มสูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมหรือพายุโดยโดยจากสถิติการจัดอันดับประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพพูมิอากาศ 10 อันดับแรกตั้งแต่ปีค.ศ. 2000 ถึงค.ศ. 2009 นั้นประเทศไทยถูกจัดหนักอยู่ที่ความเปราะบางอันอันดับ 9 ของโลก ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วงทีเดียว
องค์กร International Standard Organization, (ISO) นั้นก็ได้มีการจัดทำข้อกำหนดชุด 14064 ขึ้นมาเพื่อเป็นการตอบสนองต่อปัญหาดังกล่าวให้กับระดับองค์กร
โดยมุ่งเน้นในส่วนของการองค์กรนั้นจะทำบัญชีการปล่อยคาร์บอนของตัวเองขึ้นมารวมถึงการจัดลำดับความมีนัยสำคัญและรวมถึงการตั้งเป้าหมายเป้าหมายเมื่อเทียบกับปีเพื่อเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามหลักของ ISO
ซึ่งมาตรฐาน 14064-1:2018 เป็นการมองในส่วนของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับองค์กรหรือที่เราเรียกโดยย่อว่า CFO ซึ่งย่อมาจาก Carbon Footprint Organization
โดยหากสรุปโดยย่อนั้นวิธีการแบ่งกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในองค์กรจะสามารถแบ่งออกเป็นได้ทั้งหมด 6 หมวดหมู่ดังนี้
- หมวดที่ 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง Direct Emission
หมวดหมู่นี้มองครอบคลุมถึงกระบวนการที่มีการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิงชนิดใดทั้งจากเชื้อเพลิงที่เป็นประเภทชีวมวลประเภทถ่านหินประเภทไม้ประเภทน้ำมันเป็นต้นซึ่งมองครอบคลุมทั้งกรณีที่เครื่องจักรนั้นอยู่กับที่และกรณีที่เป็นการขับเคลื่อนได้ เช่น รถขนส่ง ยานยนต์ รถยก เป็นต้น
หรือกิจกรรมอื่นๆที่มีการรั่วไหลของก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องเช่นก๊าซมีเทนที่ออกมาจากระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานหรือสารทำความเย็นที่มีการรั่วไหลออกมาจากท่อของเครื่องปรับอากาศ
ทั้งนี้มาตรฐานไฮโซนั้นมองไปถึงการดูดกลับของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นมีการปลูกต้นไม้ทำไร่ทำสวนภายในพื้นที่ขององค์กร ก็สามารถนำมาคำนวณเพื่อเป็นในส่วนของการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เช่นกัน - หมวดที่ 2 การปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ทางอ้อม Indirect Emission
ในส่วนของหมวดนี้จะเป็นกิจกรรมที่หากว่าทางองค์กรมีการซื้อไฟฟ้าหรือพลังงานอื่นๆเข้ามาใช้ในโรงงาน - หมวดที่ 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมที่มาจากกิจกรรมการขนส่ง
ซึ่งจะมองครอบคลุมถึง Supply Chain
ได้แก่ การส่งวัตถุดิบมาสู่องค์กร , การขนส่งสินค้าขององค์กรไปยังลูกค้าการเดินทางของพนักงานจากบ้านมายังที่ทำงานการเดินทางมาเยือนของลูกค้าหรือคู่ค้าและการเดินทางเพื่อธุรกิจของเจ้าที่องค์กรเช่นเดินทางไปสัมมนาเดินทางไปประชุมต่างประเทศ เป็นต้น - หมวดที่ 4 การ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม
ที่มาจากการที่องค์กรนำสินค้ามาใช้
ซึ่งครอบคลุมถึงการซื้อวัตถุดิบเพื่อมาใช้ในกระบวนการและการซื้อสินค้าประเภททุนหรือสินทรัพย์เช่นเครื่องจักรคอมพิวเตอร์ในโรงงานหรือในองค์กร
หรือกรณีที่มีการไปใช้บริการของผู้ให้บริการภายนอก - หมวดที่ 5 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการใช้สินค้าที่ผลิตออกมาจากองค์กร
ซึ่งสามารถประเมินได้จากการใช้งานของสินค้านั้นนั้นและการทำนายซ่าของสินค้านั้นนั้นว่ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาเป็นปริมาณเท่าใด หรือก็คือมองให้ครอบคลุมวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์นั่นเอง
ในหมวดนี้ยังมองครอบคลุมไปถึงกรณีที่องค์กรนั้นนำเงินไปลงทุนในอุตสาหกรรมอื่นๆหรือกองทุนอื่นๆว่ามีผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นเท่าใดโดยคิดได้จากเปอร์เซ็นต์ของการลงทุนของหุ้นนั้น ๆ - หมวดที่ 6 คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยมีสาเหตุมาจากกิจกรรม ประเภทอื่นๆที่นอกเหนือจากหมวดที่ได้กล่าวมาข้างต้น
โดยลำดับต่อมาหลังจากสามารถแยกแยะกิจกรรมที่เกี่ยวข้องขององค์กรได้แล้วน้ำหนักถัดมาคือการเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งวิธีการวิธีการได้มาซื้อตัวเลขนั้นสามารถทำได้ดังนี้คือการตรวจวัดเช่นมีเครื่องมือตรวจวัดก๊าซที่ปลดปล่อยออกมาจากกิจกรรมนั้นนั้นโดยตรงหรือการคำนวนโดยการดุลสมการเคมีหากมีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นและวิธีสุดท้ายคือการดูตัวเลขอ้างอิงมาตรฐาน จาก Assessment Report และสุดท้ายต้องนำค่าที่ได้นั้น คูณกับค่า GWP เพื่อแปลงหน่วย ให้กลายเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เพื่อนำไปรายงานและตั้งเป้าหมายและกิจกรรมเพื่อการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ต่อไป
ปัจจุบัน ISO มีมากมายหลายมาตรฐาน อาทิ ISO 9001, ISO 14001, ISO 45001, ISO 22000, ISO/IEC 17025, ISO 13485, ISO 50001, ISO/IEC 27001, ISO 22301, ISO/IEC 20000, ISO 22716, ISO 39001, ISO 26000, IATF 16949, Codex GHPs/HACCP, มรท., มอก., BRC, GDP, AS/EN 9100, GMP อย.420 เป็นต้น KLC ดูแลให้คำปรึกษาแนะนำการจัดทำระบบมาตรฐาน ISO โดยทีมงานที่ปรึกษามืออาชีพ ดูแลท่านจนกระทั่งสามารถผ่านการรับรองระบบมาตรฐาน KLC ช่วยคุณได้ ง่ายนิดเดียว การันตีผ่านการรับรอง