การตรวจประเมินตามมาตรฐาน ISO 19011

การตรวจประเมินตามมาตรฐาน ISO 19011

การตรวจประเมินตามมาตรฐาน ISO 19011

AUDIT หรือ การตรวจ ตามแนวทางของ ISO 19011 หมายถึง การรวมกันระหว่างคำว่า

  • Systematic : ระบบ
  • Independent : ความเป็นอิสระ
  • Documented Process : กระบวนการที่เป็นเอกสาร

          ซึ่งหมายถึง กระบวนการที่จัดทำเป็นเอกสารในการดำเนินงานอย่างอิสระและเป็นระบบเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานเพื่อพิสูจน์เกณฑ์ โดยการดำเนินงานเป็นระบบ เช่น มีการวางแผน การเตรียมตัวหรือเตรียมคำถาม การตรวจ การสรุปผล การรายงานผล การติดตามการแก้ไขและปรับปรุง

โดยการแบ่งประเภทของการตรวจมี 3 แบบ คือ

  • First Party Audit > การตรวจติดตามภายใน
  • Second Party Audit > การตรวจติดตามโดยลูกค้า หรือ การตรวจติดตามผู้ขาย
  • Third Party Audit > การตรวจโดยหน่วยงานรับรอง

ในการตรวจสอบนั้นจะมีวิธีการตรวจเพื่อหาหลักฐาน “ 3P ”ดังนี้

  • PAPER : การตรวจสอบบันทึก
  • PEOPLE : การสัมภาษณ์
  • PRACTICE : การสังเกตการทำงาน

          ทั้งนี้ทั้งนั้น เมื่อทำการหาหลักฐานมาแล้ว ผู้ตรวจ (Auditor) จะต้องทำการตรวจสอบความสอดคล้องโดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ซึ่งอาจเป็น ข้อกำหนด ข้อกฎหมาย มาตรฐานขั้นตอนการทำงาน แล้วทำการตัดสินใจเพื่อสรุปผลการตรวจ โดยผลการตรวจจะถูกแบ่งได้เป็น

  • ความสอดคล้อง (Conformity)
  • ไม่สอดคล้อง (Nonconformity)
  • ข้อสังเกต (Observation)

          เมื่อสรุปผลการตรวจแล้ว หากพบประเด็นความไม่สอดคล้อง ทางผู้ถูกตรวจจะได้รับเอกสารการร้องขอให้แก้ไข (CAR: Corrective Action Request) เพื่อทำการวิเคราะห์หาสาเหตุ แนวทางการแก้ไขและป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดซ้ำ โดยเมื่อถึงกำหนดเวลาแล้วเสร็จทางผ็ตรวจประเมินจะเข้าไปทำการติดตามเพื่อปิดประเด็น จึงถือว่าสิ้นสุดกระบวนการตรวจ

          ปัจจุบัน ISO มีมากมายหลายมาตรฐาน อาทิ ISO 9001, ISO 14001, ISO 45001, ISO 22000, ISO/IEC 17025, ISO 13485, ISO 50001, ISO/IEC 27001, ISO 22301, ISO/IEC 20000, ISO 22716, ISO 39001, ISO 26000, IATF 16949, Codex GHPs/HACCP, มรท., มอก., BRC, GDP, AS/EN 9100, GMP อย.420 เป็นต้น

          KLC ดูแลให้คำปรึกษาแนะนำการจัดทำระบบมาตรฐาน โดยทีมงานที่ปรึกษามืออาชีพ ดูแลท่านจนกระทั่งสามารถผ่านการรับรองระบบมาตรฐาน KLC ช่วยคุณได้ ง่ายนิดเดียว การันตีผ่านการรับรอง แน่นอน !!!

X